วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

[บทความ] แดนอาทิตย์อุทัย.....ใต้เงาโชกุน..

แดนอาทิตย์อุทัย.....ใต้เงาโชกุน


เมืองหลวงเก่าเกียวโต

เนื่องจากบทความครั้งก่อน ขึ้นต้นด้วยเรื่องของสมเด็จพระนเรศวร มหาราชผู้เกรียงไกร กึกก้อง ในพระเกียรติของพวกเราคนไทยทุกรุ่นทุกสมัย จึงต้องแยกหัวข้อเรื่องนี้ออกมาเพราะเป็นเรื่องของชาวแดนอาทิตย์อุทัยที่ผู้เขียนไปนำเรื่องราวมาเกี่ยวข้อง แต่เพื่อให้ผู้อ่าน น้อง ๆ นักเรียน ไม่ต้องไปหาข้อมูลเพิ่ม และไม่สับสนกับบทความครั้งที่แล้วที่ไม่ได้ให้รายละเอียดเท่าที่ควร จึงขอคัดบทความที่เกี่ยวข้องมาเล่าเสริมดังนี้

คำว่าสมเด็จพระจักรพรรดิหรือ จักรพรรดิ มีความหมายตรงตัวคือผู้ปกครองอาณาจักร หรือก็คือตำแหน่งกษัตริย์นั่นเอง มีการสืบทอดกันมาตามสายเลือด มีอำนาจปกครองสูงสุดหรือเป็นเจ้าชีวิตนั่นเอง

โชกุน คือตำแหน่งผู้บริหารราชการแผ่นดินหรือจะเปรียบกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ได้ ซึ่งควบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดไว้ด้วย เนื่องจากมีอำนาจควบคุมกองกำลังทหารไว้ในมือ ทั้งกองกำลังของตนเองหรือกองกำลังของราชสำนัก ตำแหน่งโชกุนใช้วิธีการสืบทอดกันตามสายเลือดเช่นเดียวกัน คือเป็นพระญาติหรือผู้สืบเชื้อสายจากสมเด็จพระจักรพรรดิ ในบางยุคที่สมเด็จพระจักรพรรดิ์มีอำนาจเข้มแข็ง มีพระปรีชาสามารถมาก ก็สามารถกุมอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินและกองทัพไว้ในการควบคุมของพระองค์ แต่ในบางยุคสมัยที่ราชสำนักอ่อนแอ โชกุน จึงก้าวขึ้นมามีอำนาจเหนือพระจักรพรรดิ คอยชักใยอยู่เบื้องหลัง


ไดเมียวคือตำแหน่งผู้ปกครองหัวเมืองหรือบรรดาเจ้าเมืองต่างๆ ที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของโชกุนหรือสมเด็จพระจักรพรรดิอีกทอดหนึ่ง ตำแหน่งไดเมียวไม่จำเป็นต้องสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระจักรพรรดิ นายทหารชั้นผู้ใหญ่หรือแม่แต่คนธรรมดา หากมีความสามารถก็สามารถขึ้นครองตำแหน่งไดเมียวได้เช่นกัน

ไดเมียวนั้นมีเมืองและกองกำลังทหารเป็นของตนเอง ในบางครั้งจึงปรากฏว่ามีไดเมียวบางคนพยายามตั้งตนเป็นใหญ่ โดยการโค่นล้มไดเมียวอื่นๆ บางยุคสมัย ไดเมียวคนสำคัญอาจจะมีบารมีมากกว่าโชกุนเสียด้วยซ้ำ แต่ด้วยประเพณีที่สืบทอดกันมา ทำให้ไดเมียวนั้นๆ ไม่สามารถเปลี่ยนสถานะขึ้นเป็นโชกุนได้ ตัวอย่างเช่น โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ (ค.ศ. 1536-1598) ในช่วงที่เขาเรืองอำนาจสูงสุด ก็ยังไม่สามารถก้าวขึ้นเป็นโชกุนได้ เนื่องจากเขาเกิดในครอบครัวชาวนาทหาร แต่ในทางปฏิบัติแล้วเขากุมอำนาจการบริหารเอาไว้ในมือเพียงผู้เดียว


ทั้งสามตำแหน่งข้างต้นนี้ ล้วนแต่มีบทบาทในประวัติศาสต์ของประเทศญี่ปุ่นมาช้านาน ในบางยุคสมัยเราจะพบว่าการบริหารบ้านเมืองนั้นตกอยู่ในเงื้อมมือของโชกุน แทนที่จะเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ์ เนื่องจากราชสำนักอ่อนแอ ตำแหน่งจักรพรรดิจึงเป็นเสมือนหุ่นเชิดเท่านั้น หรือในบางยุคที่โชกุนอ่อนแอ บรรดาไดเมียวต่างๆ จึงพากันแข็งเมือง และก้าวขึ้นมามีบทบาทเหนือโชกุน ที่เปลี่ยนสถานะมาเป็นเพียงหุ่นเชิดบ้าง ทั้งหมดนี้ต่างสลับหน้าที่และบทบาทไปตามสถานภาพของแต่สกุล ซึ่งไม่ต่างไปจากอาณาจักรอื่นๆ ในโลก ที่ผู้ที่แข็งแกร่งเท่านั้นจึงจะได้ครองอำนาจสูงสุด

ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีประวัติศาสตร์อันยาวนานพอสมควร แม้ในปัจจุบันจะมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ แต่ในอดีตนั้นเชื่อว่าญี่ปุ่นเคยเป็นผืนแผ่นเดียวกับแผ่นดินใหญ่ เนื่องจากมีการขุดสำรวจพบกระดูกช้างโบราณ ซึ่งไม่ใช่สัตว์ท้องถิ่นของญี่ปุ่น แต่เพราะการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ทำให้ญี่ปุ่นแปรสภาพกลายเป็นเกาะอย่างในปัจจุบัน

จาก Croft, A. History of the Far-East. New York: Longmans, Green, 1958.
แปลความโดย รศ.เพ็ญศรี กาญจโนมัย


ปราสาทนิโจ

ญี่ปุ่นมีสมเด็จพระจักรพรรดิ เมื่อ 660 ปี ก่อนคริสตกาล มาจนปัจจุบัน 125 พระองค์

ในญี่ปุ่นการเอ่ยถึงพระจักรพรรดิ จะเรียกพระนามของพระองค์โดยตรงไม่ได้ เช่นเดียวกับในประเทศไทย แต่จะเอ่ยถึงพระองค์ว่า เทนโน เฮกะ ( tennō heika ) หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิและรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะจะเรียกว่ายุคเฮเซ( Heisei)หลังจากที่สิ้นยุคของพระองค์แล้วเราก็อาจจะขนานพระนามพระองค์ว่า จักรพรรดิเฮเซ

จากประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของญี่ปุ่น มีเรื่องที่น่าสนใจดังนี้

สมัยเฮอัง (ค.ศ. 794–1185)
ในปลายศตวรรษที่ 8 มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ เฮอังเกียว ( Heian-kyou) หรือเมืองเกียวโตในปัจจุบัน นับเป็นยุคทองของประเทศญี่ปุ่น ที่ทั้งศิลปะและวัฒนธรรมรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมต่างๆ ที่สืบทอดมาจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง และลัทธิขงจื้อ จนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น เฮอัง (Heian) แปลว่า ความสงบสันติ

พ.ศ. 1347 (ค.ศ. 804) - ส่งพระไซโช( Saichou) และ คูไก (Kukai) ไปยังประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถังตามคำแนะนำของราชทูตญี่ปุ่น
พ.ศ. 1348 (ค.ศ. 805) - พระไซโช เดินทางกลับญี่ปุ่น และก่อตั้งศาสนาพุทธ นิกายเทนได
พ.ศ. 1349 (ค.ศ. 806) - พระคูไก เดินทางกลับญี่ปุ่น และก่อตั้งศาสนาพุทธ นิกายชินงอน


ปราสาทสร้างโดย โอดะ โนบุนางะ

ตำแหน่งเซอิไทโชกุน หรือ แม่ทัพใหญ่ผู้ปราบคนเถื่อนนั้น เดิมเป็นตำแหน่งของแม่ทัพที่ถูกส่งไปปราบปรามคนเถื่อนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ระหว่างสมัยนะระถึงสมัยเฮอัง ซึ่งในยุคดังกล่าวนอกจากตำแหน่งเซอิไทโชกุนนี้แล้ว ยังมีตำแหน่งอื่นอีกเช่น เซเซไทโชกุน (แม่ทัพใหญ่ผู้ปราบคนเถื่อนภาคตะวันตก)
ซึ่งในค.ศ.793-1184 มีแม่ทัพใหญ่ 4 คน

แต่หลังจากที่มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะตั้งรัฐบาลบะคุฟุเป็นครั้งแรกที่คะมะคุระแล้ว ความหมายของคำว่าเซอิไทโชกุน ก็เปลี่ยนเป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลทหารแทนส่วนการสืบทอดตำแหน่งโชกุนนั้น ในช่วงแรกจะแต่งตั้งโดยพระบรมราชโองการของพระมหาจักรพรรดิ ส่วนในยุคหลังตั้งแต่สมัยคะมะคุระเป็นต้นมา ตำแหน่งโชกุนได้กลายเป็นตำแหน่งสืบตระกูล ถึงแม้ว่าจะรับพระบรมราชโองการแต่ก็เป็นแต่เพียงในนามเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงอำนาจของโชกุนในยุคหลังส่วนมากจะมีมากกว่าอำนาจของพระราชสำนัก นอกจากนี้ เวลาติดต่อกับต่างประเทศ เช่น จีน ประเทศเหล่านั้นก็จะถือว่าโชกุนเป็นผู้ปกครองประเทศญี่ปุ่น โดยที่จะไม่กล่าวถึงจักรพรรดิ

สมัยคะมะกุระ (ค.ศ. 1192–1333) รวม 141 ปี (คามากุระ )
มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ นับเป็นโชกุน คนที่ 5 ของญี่ปุ่น
เป็นสมัยแรกที่นักรบหรือซามูไร ขึ้นมากลายเป็นชนชั้นปกครองแทนที่พระจักรพรรดิและนักปราชญ์ที่เป็นพลเรือนดังที่เคยเป็นมาในยุคเฮอัง เป็นจุดเริ่มต้นของญี่ปุ่นสมัยศักดินา โดยจักรพรรดิเป็นผู้มีอำนาจการปกครอง แต่เพียงในนามรัฐบาลทหารที่เรียกว่า บะกุฟุ ซึ่งมีโชกุนเป็นหัวหน้าปกครองประเทศในนามจักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดทั้งทางการเมืองและการทหาร โยริโตโมะแห่งตระกูลมินาโมโต้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโชกุนคนแรกจัดตั้งรัฐบาลทหารมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองคามากุระ ส่วนจักรพรรดิประทับที่เมืองเฮอัน

ในยุคคะมะกุระญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานจากกองทัพมองโกลภายใต้การนำของกุบไลข่านในสมัยราชวงศ์หยวนซึ่งโดนโจมตีครั้งแรกในปี ค.ศ. 1274 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1281 แต่กองทัพมองโกลเข้าโจมตีญี่ปุ่นไม่สำเร็จ

สมัยมุโรมะจิ (ค.ศ. 1336–1573) รวม 237 ปี
อะชิคะงะ ทะกะอุจิ ผู้ก่อตั้ง มุโระมะชิ บะคุฟุ (ค.ศ.1338-1358 )

อิคคิว โซจุนเดิมเป็นพระราชโอรสของพระจักรพรรดิ ต่อมาเมื่ออะชิคะงะ โยชิมิทสึ (โชกุน คนที่ 3 แห่ง มุโรมะจิบะคุฟุ โชกุนคนที่ 18 ของญี่ปุ่น ผู้ที่รวมราชวงศ์เหนือใต้เข้าด้วยกัน หลังลาออกจากตำแหน่งได้รับแต่งตั้งเป็นไดโจไดจิน (ตำแหน่งคล้ายอัครมหาเสนาบดี) )ได้ปราบปรามราชวงศ์ใต้ของพระจักรพรรดิลง พระราชมารดาได้ส่งอิ๊คคิวซัง (นามนี้เป็นฉายาไม่ทราบชื่อจริง) ในวัย10 ขวบไปบวชที่วัดอังโคะคุจิ อิคคิวซังนั้นเป็นเณรที่ฉลาดมาก สามารถตอบปัญหาเอาชนะโชกุนโยชิมิทสึ ผู้ตรวจการอินางาวะ ชินเอม่อน คิเคียวยะซัง และยาโยย สองพ่อลูกจอมเจ้าเล่ห์ ต่อมาเมื่ออิ๊คคิวอายุมากขึ้นได้เป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่งและมรณภาพเมื่ออายุประมาณ 80 ปีเรื่องราวของเขาชาวญี่ปุ่นยังเล่าสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ และเรื่องของอิ๊คคิวซังได้ถูกนำไปสร้างเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเมื่อ 30-40 ปีก่อนใช้ชื่อว่า"อิ๊คคิวซัง..เณรน้อยเจ้าปัญญา

ค.ศ. 1401 อะชิคะงะ โยชิมิทสึ ได้ส่งทูตญี่ปุ่นไปยังราชวงศ์หมิงของจีนเป็นครั้งแรก


ปราสาท สร้างโดย โทะกุงะวะ อิเอยาสุ


ได้เกิดยุคเซงโงกุ ( Sengoku-jidai) เป็นช่วงเวลาของความไม่สงบในญี่ปุ่นอันเกิดจากอำนาจการปกครองของโชกุนตระกูล อะชิคางะ ในสมัยมุโรมะจิเสื่อมลง ทำให้บรรดาไดเมียวเจ้าครองแคว้นต่างๆในญี่ปุ่นต่างพากันตั้งตนเป็นอิสระ โดยเฉพาะไดเมียวที่อยู่ห่างจากเกียวโตเมืองหลวงมาก ๆ และทำสงครามกันเองทำให้ญี่ปุ่นลุกเป็นไฟ บ้านเมืองไม่มีขื่อแป โชกุนที่เกียวโตไม่สามารถทำอะไรได้เพราะเป็นเพียงหุ่นเชิดของไดเมียวที่มีอำนาจ

ค.ศ. 1568 โนบุนางะ โอดะ ซึ่งเป็นตระกูไดเมียว ที่มีอำนาจขึ้นมาในสมัยสงครามท้องถิ่น และต้องการรวมประเทศเป็น ก็ได้เคลื่อนกำลังเข้ายึดเกียวโต โดยได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิ โดยมีอีก 2 บุคคลที่เป็นผู้นำสำคัญในการรวมประเทศ คือ ฮิเดโยชิ โทโยโตมิ และ อิเอยาสุ โทกุงะวะ ทำให้ มุโระมะจิเริ่มเสื่อมสลายไป จนในที่สุด บะคุฟุ มุโรมะจิ โดยโชกุน อะชิคะงะ โยะชิอะกิ ล่มสลายในปี 1573


โทะกุงะวะ อิเอยาสุ

ต่อมา โนะบุนางะ โอดะ ถูกลอบสังหาร โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ พยายามแก้แค้นให้ โนะบุนางะ โอดะ ทำให้ฮิเดโยชิได้รับการยกย่องและขึ้นมามีอำนาจในตระกูลโอดะ และ ต่อมาโทโยตามิ ก็ให้ทายาทอายุเพียง 2 ขวบของ ตระกูลโอดะ เป็นผู้สืบทอดตระกูลโอดะ เพื่อจะได้ยึดอำนาจได้เ จึงเกิดความขัดแย้งกับขุนพลตระกูลโอดะ โอดะ โนะบุกะสึ ได่้ไปขอให้ อิเอยาสุ โทะกุงะวะช่วยให้ตนได้ปกครองตระกูล โอดะ ทำให้ ฮะชิบะ ฮิเดโยชิ (ตระกูลเดิมของ ฮิเดโยชิ) และ โทะกุงะวะ อิเอยาสุ ต้องทำสงครามกัน ไม่มีผล แพ้ขนะ ต้องเจรจรจาสงบศึกกันโดยที่

ฮิเดโยชิได้ส่งน้องสาวต่างมารดาของตน ไปเป็นภรรยาเอกของอิเอยาสุ และ ฮิเดโยชิยังส่งมารดาของตน ไปเป็นตัวประกันที่แคว้นมิกะวะของ อิเอยาสุ

ในค.ศ. 1583 ฮิเดโยชิได้สร้างปราสาทโอซาก้า ให้เป็นที่พำนักของตน ให้ยิ่งใหญ่กว่าปราสาทอะซุจิอันเป็นที่พำนักของโอดะ โนะบุนะงะ

ฮิเดโยชิมีความทะเยอทะยานอยากที่จะเป้นผู้ปกครองญี่ปุ่นทั้งหมด และต้องการตำแหน่งโชกุน ฮิเดโยชิจึงสร้างสัมพันธ์อันดีกับราชสำนักเกียวโต แต่ฮิเดะโยะชิไม่สามารถรับตำแหน่งโชกุนได้เนื่องจากไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากตระกูล มินะโมะโตะ ( ฮิเดโยชิมาจากตระกูล ฮะชิบะ ซึ่งเป็นชาวนาทหาร)


ปราสาทเอโดะ

ในค.ศ. 1586 ฮะชิบะ ฮิเดโยชิ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น คังปะกุ (Kampaku ) หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระจักรพรรดิ รวมทั้งได้รับพระราชทานนามสกุลใหม่จากพระจักรพรรดิว่า โทโยโตมิ และในปีเดียวกันนั้นเอง คังปะกุฮิเดโยชิ ได้สร้างคฤหาสน์จูระกุได ( Jurakudai ) ไว้เป็นที่พำนักของตนในเมืองเกียวโตและเป็นที่รับรององค์พระจักรพรรดิ

หลังจากปราบปราม ไดเมียว ที่อยู่คนละฝ่าย ได้หมด ฮิเดโยชิ ก็สามารถรวบรวมญี่ปุ่นได้สำเร็จ
ต่อมาฮิเดโยชิ ได้สละตำแหน่ง คังปะกุ ( ผู้สำเร็จราชการ ให้หลานชาย ) เพราะบุตรชายของ ฮิเดโยชิ เสียชีวิต เพียงอายุ 3 ขวบ มีบุตรบุญธรรมก็เสียชีวิตอีก จึงเศร้าใจที่ไม่มีทายาท ฮิเดโยชิอยูในตำแหน่ง ไทโค คือ ผู้สำเร็จราชการที่สละตำแหน่งแล้ว

เมื่อรวบรวมญี่ปุ่นได้แล้ว ไทโค ฮิเดโยชิก็มีความทะเยอทะยานอยากที่จะพิชิตจีนราชวงศ์หมิง จึงได้ส่งฑูตไปยังราชสำนักเกาหลีราชวงศ์โชซอนเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ ไทโค ฮิเดโยชิจึงตัดสินใจที่จะเข้ารุกรานเกาหลีเพื่อเป็นทางผ่านในการเข้ารุกรานจีนต่อไป ไทโคจึงได้ระดมขุนพลที่เก่งกล้าสามารถของตนทั้งหมดไปรุกรานเกาหลีในค.ศ. 1592 ( พ.ศ. 2135 ) และ
สามารถนำทัพเข้ายึดเมืองฮันยาง (กรุงโซล) โดยใช้เวลาเพียงสองสัปดาห์เท่านั้น พระเจ้าซอนโจกษัตริย์เกาหลีได้เสด็จหนีไปอยู่เมืองเปียงยาง ทัพญี่ปุ่นจึงติดตามไปเข้าบุกยึดเมืองเปียงยาง จนกษัตริย์เกาหลีต้องเสด็จหนีไปเมืองปักกิ่งเพื่อทูลขอความช่วยเหลือจากพระจักรพรรดิหว่านลี่ พระจักรพรรดิหว่านลี่จึงทรงส่งแม่ทัพจีนชื่อว่า หลี่หรู้ซ้ง (Li Ruzong) นำทัพจีนเข้ามาขับไล่ทัพญี่ปุ่นกลับไป ฝ่ายทัพญี่ปุ่นซึ่งอ่อนกำลังลงและไม่สามารถต้านทานทัพจีนได้ จึงต้องเจรจาสงบศึกในที่สุดในค.ศ. 1593


โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ

ต่อมา ไทโคฮิเดโยชิ มีบุตรชายคนใหม่อีก ทำให้ ไทโคฮิเดโยชิ เกิดความต้องการที่จะให้บุตรชายของตนเป็นผู้สืบทอดแทนที่หลานชายที่ได้แต่งตั้งไปแล้ว จึงได้มีคำสั่งให้ปลดหลานชาย คังปะกุง ฮิเดสึงุ ออกจากตำแหน่งทายาทและเนรเทศไปยังเขาโคยะ สองปีต่อมาในค.ศ. 1595 ฮิเดโยชิจึงมีคำสั่งให้ฮิเดสึงุกระทำการเซ็ปปุกุ ( หรือ ฮาราคีรี ) เสียชีวิตไป และนำตัวภรรยาเอกภรรยาน้อยและบุตรทั้งหมดร่วมหลายสิบชีวิต ของหลานชชายคนนี้ มาทำการประหารชีวิตในเมืองเกียวโต



ปราสาทเฮียวโก สร้างโดย โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ


ไทโค ฮิเดโยชิได้ยื่นข้อเสนอต้องการที่จะนำพระธิดาของพระจักรพรรดิจีนมาเป็นภรรยา ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของราชสำนักจีน แต่ราชสำนักจีนก็ได้แต่งตั้งให้ ไทโคฮิเดโยชิเป็น"กษัตริย์แห่งญี่ปุ่น" ( Nihon-koku-ō ) เข้าสู่ระบบบรรณาการของจีน แต่ไทโคฮิเดโยชิ ไม่ต้องการที่จะส่งบรรณาการให้แก่ราชวงศ์หมิง และเท่ากับเป็นการละเลยองค์พระจักรพรรดิที่โตเกียวด้วย (ซึ่งจีนและเกาหลีไม่ทราบว่ามี) การเจรจาจึงไม่ประสบความสำเร็จและ ไทโคฮิเดโยชิได้ส่งทัพเข้ารุกรานเกาหลีอีกครั้งในค.ศ. 1597 แต่ทว่าทางฝ่ายจีนและเกาหลีนั้นได้เตรียมการรับมือไว้เป็นอย่างดี ทำให้ทัพญี่ปุ่นไม่ประสบความสำเร็จเหมือนการรุกรานในครั้งแรก อีกทั้งยังพ่ายแพ้ที่ยุทธนาวีโนรยาง (Battle of Noryang) ด้วยการนำของขุนพลลีซุนชิน (Yi Sunsin) ในค.ศ. 1598

ไทโค ฮิเดโยชิหลังจากที่ได้จัดงานดอกซะกุระบานที่วัดไดโง ในเมืองเกียวโตในค.ศ. 1598 ได้ล้มป่วยลงในฤดูร้อนปีนั้น ในขณะที่สงครามในเกาหลียังไม่คลี่คลาย ท่านไทโคแม้ว่าจะมีผู้สืบทอดแล้ว ซึ่งอายุเพียงห้าปี ไทโคฮิเดโยชิเกรงว่าหากว่าตนเสียชีวิตไปโดยที่บุตรชายอายุยังน้อยอาจถูกไดเมียวผู้ทรงอำนาจคนอื่นแย่งชิงอำนาจไป จึงได้ก่อตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนขึ้นเรียกว่าโงะไทโร
เป็นผู้อาวุโสทั้งห้า ประกอบด้วยไดเมียวผู้ทรงอำนาจที่สุดในเวลานั้นจำนวนห้าคน ซึ่งมี โทะกุงะวะ อิเอยาสุ อยู่ในนั้น
และยังมีคณะผู้บริหารที่ทำหน้าที่บริหารงานหลังจากที่ท่านไทโคถึงแก่อสัญกรรม จำนวนห้าคน

ไทโคฮิเดโยชิ ได้ถึงแก่อสัญกรรมลงในฤดูใบไม้ร่วงปีค.ศ. 1598 ด้วยอายุ 61 ปี ได้มีคำสั่งสุดท้ายให้ถอนทัพญี่ปุ่นทั้งหมดกลับคืนมาจากเกาหลี และให้ปิดบังการถึงแก่อสัญกรรมของท่านไทโคไม่ให้เหล่าทหารได้ทราบด้วยเกรงว่าจะเสียกำลังใจ ในปีต่อมาในค.ศ. 1599 จึงได้มีการประกาศการถึงแก่อสัญกรรมของไทโคฮิเดะโยะชิอย่างเป็นทางการ

โทโยโตมิ ฮิเดโยะชิ นับเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น มีกำเนิดจากชนชั้นชาวนา แต่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นซามุไรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง บรรลุภารกิจการรวบรวมประเทศญี่ปุ่นที่แตกออกเป็นแคว้นต่างๆในยุคเซงโงะกุได้สำเร็จ สืบสานเจตนารมณ์ของโอดะ โนะบุนะงะ


ปราสาทเฮียวโก สร้างโดย โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ

แต่ทว่าการปกครองของตระกูลโทโยโตมิหลังจากการอสัญกรรมของฮิเดโยชิแล้วนั้นอยู่ได้เพียงไม่นาน ในค.ศ. 1599 ไทโรผู้อาวุโสที่สุดได้ถึงแก่อสัญกรรมลง ทำให้โทะกุงะวะ อิเอยาสุ กลายเป็นไดเมียวผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในญี่ปุ่น แต่ก็ยังเป็นที่ต่อต้านของผู้ที่จงรักภักดีต่อตระกูลโทโยโตมิ อันประกอบด้วย คนรับใช้คนสนิทของฮิเดโยชิ และไทโรอีกสามคนที่เหลือ จนกระทั่งนำไปสู่ยุทธการสู้รบอีก คนรับใข้คนสนิทของฮิเดโยชิ ถูกประหารชีวิตไป ชัยชนะของอิเอยาสุทำให้เขาได้อำนาจเป็นผู้ปกครองญี่ปุ่นโดยแท้จริงอย่างเบ็ดเสร็จ และได้รับการแต่งตั้งเป็นโชกุนในค.ศ. 1603 อันเป็นจุดเริ่มต้นของรัฐบาลโชกุนเอโดะ

ฝ่ายบุตรชายของ ฮิเดโยชิ ยังคงมีชีวิตเติบใหญ่อยู่ในปราสาทโอซาก้า ภายใต้การดูแลของผู้เป็นมารดา ได้ถูกโชกุนอิเอยาสุลดฐานะลงเป็นเพียงไดเมียวธรรมดา
ในค.ศ. 1614 ฮิเดะโยะริ (บุตรชาย ฮิเดโยชิ)ได้สมคบคิดกับมารดาของตน ซ่องสุมกำลังพลเตรียมก่อการกบฎเพื่อคืนอำนาจให้แก่ตระกูลโทโยโตมิ ทำให้อิเอยาสุตัดสินใจที่จะกำจัดตระกูลโทโยโตมิให้สิ้นซาก นำไปสู่การล้อมปราสาทโอซาก้า ในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวในค.ศ. 1615 เมื่อทัพของฝ่ายโทะโยโตมิพ่ายแพ้และทัพโทะกุงะวะสามารถเข้ายึดปราสาทได้ ฮิเดะโยะริจึงกระทำเซ็ปปุกุ เสียชีวิตไปพร้อมกับมารดา เป็นการอวสานของตระกูลโทโยโตมิ

โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ แม้จะประสบผลสำเร็จ จากคนเดินดินธรรมดาแต่มีความสามารถได้ก้าวขึ้นบันไดสู่สวรรค์ที่ฝันหา แม้จะมิอาจคว้าดวงจันทร์ที่มีเพียงดวงเดียวได้ แต่ ฮิเดโยชิ ก็กอบเก็บดวงดาวที่พราวพร่างฟ้า ใส่วางไว้ในฝ่ามือได้เต็มอุ้งมือ แต่สัจธรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แม้ส่งผลมาที่ ฮิเดโยชิ ไม่ทันในชาตินี้ แต่ลูกหลานก็ได้รับผลกรรมที่บรรพบุรุษทำไว้อย่างเห็นได้ชัดเป็นตัวอย่าง

สมัยเอะโดะ (ค.ศ. 1603–1867) รวม 264 ปี
หรือยุคที่เรียกว่า ยุคโทะกุงะวะ (Tokugawa-jidai )

คือยุคที่มีไดเมียวตระกูลโทะกุงะวะเป็นโชกุน เริ่มเมื่อโทะกุงะวะ อิเอยาสุ (Tokugawa Ieyasu) ได้รวบอำนาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ใน ค.ศ. 1603 และหลังจากนั้นอีก 260 ปี การปกครองทั้งหลายก็ตกอยู่ในอำนาจของตระกูลโทะกุงะวะ รัฐบาลโทะกุงะวะได้ลิดรอนอำนาจจากจักรพรรดิ เชื้อพระวงศ์ และพระสงฆ์จนหมดสิ้น และปกครองเกษตรกรไปทีละเล็กละน้อย เมื่อเกษตรกรอันเป็นฐานอำนาจของรัฐบาลโทะกุงะวะยากจนลงจนเดือดร้อน การปกครองของตระกูลโทะกุงะวะก็เริ่มสั่นคลอนลงตั้งแต่เข้าศตวรรษที่ 19
ยุคนี้เป็นยุคที่วัฒนธรรมของราษฎรสามัญเจริญจนถึงที่สุด ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 17 จนถึงต้นศตวรรษที่ 18

โชกุน ตำแหน่งแม่ทัพของญี่ปุ่น ตั้งแต่ยุคคะมะกุระ ในปี ค.ศ. 1192 จนถึงการสิ้นสุดของยุคเอะโดะ ของตระกูลโทะกุงะวะ ภายหลังการปฏิรูปสมัยเมจิ ในปี ค.ศ. 1868 รวมมีโชกุนทั้งสิ้น 46 คน ตำแหน่งโชกุนถูกยุบเลิกตอนการปฏิรูปเมจิในปี ค.ศ. 1687 (พ.ศ. 2410 )

บะคุฟุหมายถึง รัฐบาลโชกุน

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย
ภาพจากอินเทอร์เนท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น