วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

นครกุสินารา ๒๑ พระพุทธสารีริกธาตุ





กาลครั้งนี้น เมื่อพระบรมศาสดายังมีพระชนม์อยู่นั้น
พระบรมศาสดาทรงดำริว่า
"ตถาคตมีพระชนมายุน้อย ประกาศพระศาสนาอยู่ได้ไม่นาน ก็จะปรินิพพาน พระศาสนายังไม่แผ่ไพศาลไปยังนานาประเทศ "
จึงทรงอธิษฐานว่า
"เมื่อตถาคตปรินิพพาน และทำการถวายพระเพลิงแล้ว พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายจะแตกกระจายออกเป็น ๓ สันธาน คือ
ขนาดโตเท่าเมล็ดถั่ว
ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสาร
ขนาดเล็กเท่าเมล็ดผักกาด
เผื่อว่ามหาชนในนานาประเทศ จะได้อัญเชิญไปนมัสการ ทำการสักการะบูชา เข้าถึงมหากุศล อำนวยผลให้บังเกิดในสุคติภพต่อไป "



ด้วยอานุภาพแห่งพุทธาธิษฐานทำให้เพลิงมิไหม้
๑.ผ้าขาวที่หุ้มห่อพระสรีระชั้นในสุดและนอกสุด
๒.พระเขี้ยวแก้ว ๔ เขี้ยว
๓.พระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) ทั้งสองข้าง
๔.พระอุณหิส (กระดูกหน้าผาก)

ขอขอบคุณข้อมูลจากสู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)

นับตั้งแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา มีพระสงฆ์จำนวนมากมาย ที่ปฏิบัติตามแนวทางที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางเอาไว้ และมีความเพียรพยายามอย่างยิ่ง จนกระทั่งสามารถยกจิตก้าวบรรลุสู่ภูมิธรรมขั้นต่างๆ นับแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป และสิ่งที่สามารถยืนยันได้ว่าท่านเหล่านั้นสามารถบรรลุภูมิธรรมขั้นสูงได้ก็คือ พระธาตุ



ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีพระอริยสงฆ์มากมายที่สามารถปฏิบัติธรรมจนกระทั่งอัฐิกลายเป็น "พระธาตุ" และมีลักษณะแตกต่างกันมากมาย ซึ่งสามารถแยกออกได้เป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้

๑. พระสาวกสมัยพุทธกาลและสมัยโบราณ
โดยพระสาวกสมัยพุทธกาลนั้น คือ พระสาวกที่ดำรงขันธ์อยู่ในช่วงสมัยพุทธกาล จนกระทั่งถึงภายหลังพุทธกาลไม่นาน ส่วนพระสาวกสมัยโบราณ คือ พระสาวกที่ดำรงขันธ์ในช่วงภายหลังพุทธปรินิพพานจนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๔ พระสาวกในกลุ่มนี้จึงมีเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ปรากฏนามและไม่ปรากฏนามในตำรา พระสาวกสมัยพุทธกาลที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป เช่น พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร เป็นต้น และพระสาวกสมัยโบราณที่เป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป เช่น พระอุปคุต เป็นต้น

๒. พระสาวกสมัยปัจจุบัน พระสาวกสมัยปัจจุบันนั้น คือช่วงตั้งแต่ก่อน พ.ศ.๒๕๐๐ เล็กน้อย จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ซึ่งมีมากมายหลายองค์ และแต่ละองค์ก็มีพระธาตุลักษณะต่างๆมากมาย ทำให้ได้สามารถศึกษาลักษณะและวิธีการแปรเป็นพระธาตุจากส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งนำไปเปรียบเทียบกับลักษณะการเกิดของพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระสาวกสมัยโบราณได้ ดังเช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นต้น



พระสาวกธาตุสมัยพุทธกาลและสมัยโบราณ
ตามตำราพระธาตุของโบราณ ได้กล่าวถึงลักษณะพระธาตุของพระอรหันต์ผู้ซึ่งทรงขันธ์อยู่ในสมัยพุทธกาล และหลังพุทธปรินิพพานไม่นาน มีระบุลักษณะของพระธาตุพระอรหันต์เหล่านี้ไว้ ๔๗ องค์
และ ในอรรถกถา*
ระบุลักษณะพระธาตุของพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลไว้อีก ๓ องค์ ซึ่งซ้ำกับในตำราพระธาตุของโบราณ ๒ องค์ รวมปรากฏลักษณะพระธาตุของพระอรหันต์ทั้งสิ้น ๔๘ องค์ ได้แก่

๑.พระสารีบุตร
๒.พระโมคคัลลานะ
๓.พระสีวลี
๔.พระองคุลิมาละ
๕.พระอัญญาโกณฑัญญะ*
๖.พระอนุรุทธะ
๗.พระกัจจายะนะ
๘.พระพิมพาเถรี
๙.พระสันตติมหาอำมาตย์*
๑๐.พระภัททิยะ
๑๑.พระอานนท์
๑๒.พระอุปปะคุต
๑๓.พระอุทายี
๑๔.พระอุตตะรายีเถรี
๑๕.พระกาฬุทายีเถระ
๑๖.พระปุณณะเถระ
๑๗.พระอุปะนันทะ
๑๘.พระสัมปะฑัญญะ
๑๙.พระจุลลินะเถระ
๒๐.พระจุลนาคะ
๒๑.พระมหากปินะ
๒๒.พระยังคิกะเถระ
๒๓.พระสุมณะเถระ
๒๔.พระกังขาเรวัตตะ
๒๕.พระโมฬียะวาทะ
๒๖.พระอุตระ
๒๗.พระคิริมานันทะ
๒๘.พระสปากะ
๒๙.พระวิมะละ
๓๐.พระเวณุหาสะ
๓๑.พระอุคคาเรวะ
๓๒.พระอุบลวรรณาเถรี
๓๓.พระโลหะนามะเถระ
๓๔.พระคันธะทายี
๓๕.พระโคธิกะ
๓๖.พระปิณฑะปาติยะ
๓๗.พระกุมาระกัสสะปะ
๓๘.พระภัทธะคู
๓๙.พระโคทะฑัตตะ
๔๐.พระอนาคาระกัสสะปะ
๔๑.พระคะวัมปะติ
๔๒.พระมาลียะเทวะ
๔๓.พระกิมิละเถระ
๔๔.พระวังคิสะเถระ
๔๕.พระโชติยะเถระ
๔๖.พระเวยยากัปปะ
๔๗.พระกุณฑะละติสสะ
๔๘.พระพักกุละ

ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.relicsofbuddha.com/page5.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น