วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

นครกุสินารา ๒๐ มกุฏพันธนเจดีย์




ขอขอบคุณภาพจากtanagarn.igetweb.com

พุทธสถานที่สำคัญในเมืองกุสินารามีมหาปรินิพพานสถูป โทณพราหมณ์เจดีย์ และมกุฏพันธนเจดีย์ มกุฏพันธนเจดีย์ ( The Cremation Stupa-Ramabhar ) ที่ถวายพระพุทธสรีระ มกุฏพันธนเจดีย์ มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นว่า รามภาร์ (Rambhar-ka-tila )อันเป็นที่ประกอบพิธีอภิเษกในการเข้ารับตำแหน่งรัฐบาล

มัลลกษัตริย์ได้ยกขี้นเป็นที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ โดยตั้งเชิงตะกอนขึ้นในบริเวณมกุฏพันธนเจดีย์ เมื่อถวายพระเพลิงแล้วจึงก่อสถูปลง ณ ที่ถวายพระเพลิง ที่ถวายพระเพลิงนั้นกลางทาง ๔ แพร่ง

สถูปนั้นปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า รามาภาร์

หลวงจีนมานมัสการสถานที่นี้ ได้บันทึกไว้ว่าเห็นวิหารใหญ่หลังหนึ่ง ชื่อ มกุฏพันธนเจดีย์ มีภิกษุอยู่ในวิหารถึง ๑๐๐ รูป


ขอขอบคุณภาพจาก kusinara.com

มกุฎพันธนเจดีย์ตั้งอยู่บนเนินสูงประมาณ ๕๐ ฟุต ได้ทำการตกแต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๕๕ (ค.ศ. ๑๙๑๐-๑๙๑๑ ) นี้เอง เพราะมีพวกแสวงโชคมาขุดหาสมบัติโบราณ ขุดเจาะลงไปเป็นช่องจนถึงก้นสถูป จนสถูปใหญ่พังลงมา

มองไกล ๆ คล้ายกับภูเขาลูกหนึ่ง ที่พื้นดินมีสีเหลืองปนดำ บางแห่งเป็นดินดำร่วนเหมือนกับถ่านไฟ ได้บูรณะครั้งใหญ่เมื่อฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ เนื่องจากสถูปเป็นเนินดิน ก่อก้อนอิฐหุ้มไว้ เมื่อถูกฝนตกหนักเข้าก็ทรุดและพังลง จึงมีการบูรณะอีกเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๘) นี่เอง





ขอขอบคุณภาพจากwww.alittlebuddha.com

ในอรรถกถา ปาฏิกวรรค สัมปสาทนียสูตร หน้า ๒๕๐-๒๕๑ กล่าวว่า ปรินิพพานมี ๓ คือ
กิเลศปรินิพพาน
ขันธปรินิพพาน
ธาตุปรินิพพาน

ในปรินิพพาน ๓ นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราพระองค์นี้
กิเลสนิพพาน ได้มีแล้ว ณ โพธิบัลลังก์
ขันธปรินิพพาน ได้มีแล้ว ณ เมืองกุสินารา
ธาตุปรินิพพาน จักได้มีแล้ว ในอนาคตกาล

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น